หัวข้อ   “ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556
นักเศรษฐศาสตร์ 51.6 % สนับสนุนให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้เงินงบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
มากกว่าการลดหนี้สาธารณะ แต่ 57.8 % ห่วงปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยในวันที่ 15-17 สิงหาคมนี้ จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อ
พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2556 ในวาระ 2 - 3 ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์
จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 64 คน เรื่อง “พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี
2556
” เพื่อผลสำรวจที่ได้จักเป็นข้อมูลประกอบการประชุมให้กับสภาผู้แทนราษฎรรวมถึง
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผลการสำรวจมีดังนี้
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 40.6 เชื่อว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ได้ตาม
เป้าหมายที่ประมาณการไว้
ที่ จำนวน 2,197,900 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
จากปีก่อน ขณะที่ร้อยละ 39.1 เชื่อว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้
เมื่อถามว่าคิดอย่างไรกับการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลจำนวน 300,000
ล้านบาท   นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 39.1 เห็นว่าน่าจะขาดดุลในจำนวนเงินที่ต่ำ
กว่านี้
  ขณะที่ร้อยละ 35.9 เห็นว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
 
                 สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับงบลงทุนจำนวน 448,938.8 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 40.6 เห็นว่าสัดส่วนงบลงทุนต่อจีดีพีน่าจะสูง
กว่านี้
โดยควรอยู่ที่ระดับร้อยละ 23.4 ของวงเงินงบประมาณรวม ขณะที่ร้อยละ 32.8 เห็นว่าเป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว
 
                 ส่วนสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการใช้งบประมาณคือ การทุจริตคอร์รัปชัน (ร้อยละ
57.8)
 การใช้งบประมาณในโครงการประชานิยม (ร้อยละ  20.3) และความไม่มีประสิทธิภาพในการใช้เงินงบประมาณ
(ร้อยละ  12.5)   สุดท้ายเมื่อถามว่าระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีกับความจำเป็นในการใช้เงินงบประมาณ  อะไรมีความสำคัญ
มากกว่ากัน ณ สถานการณ์และบริบทปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเห็นร้อยละ 51.6
เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ มากกว่าการลดหนี้สาธารณะ
 
                  นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำ
ปี 2556
ไว้ดังนี้

                     อันดับ 1   รัฐบาลควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของการใช้เงิน มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และ
                                  สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ


                     อันดับ 2   รัฐบาลควรใช้งบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นสำคัญ
                                  ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาการศึกษา มีการกระจายงบประมาณ
                                  ลงไปยังท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำรวมถึงช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับ
                                  อุปสงค์ภายในประเทศด้วย

                     อันดับ 3   รัฐบาลควรเร่งทำงบประมาณให้มีความสมดุล บริหารจัดการสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี รวมถึงไม่ควร
                                  ก่อหนี้มาใช้ในโครงการประชานิยม แต่ควรก่อหนี้มาใช้ในโครงการลงทุน
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นที่มีต่อรัฐบาลว่าจะสามารถจัดเก็บงบประมาณได้ตามที่ประมาณการไว้หรือไม่
                 ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รัฐบาลประมาณการว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิทั้งสิ้น
                 จำนวน 2,197,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากปีก่อน


 
ร้อยละ
เชื่อว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ได้ตามที่ประมาณการไว้
40.6
เชื่อว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้
39.1
เชื่อว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้
10.9
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
9.4
 
 
             2. ความคิดเห็นที่มีต่อรัฐบาลว่าการขาดดุลในกรอบวงเงิน 300,000 ล้านบาท เป็นจำนวนที่
                 เหมาะสมหรือไม่
ทั้งนี้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ในวงเงินงบ
                 ประมาณทั้งสิ้น 2,400,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล
                 จำนวน 300,000 ล้านบาท

 
ร้อยละ
น่าจะขาดดุลในจำนวนเงินที่ต่ำกว่านี้
39.1
เป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
35.9
น่าจะขาดดุลในจำนวนเงินที่สูงกว่านี้
12.5
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
12.5
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อรายจ่ายลงทุนจำนวน 448,938.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงิน
                 งบประมาณ เป็นจำนวนที่เหมาะสมหรือไม่

 
ร้อยละ
น่าจะสูงกว่านี้ที่ระดับร้อยละ 23.4 โดยเฉลี่ยของวงเงินงบประมาณรวม
40.6
เป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว
32.8
น่าจะต่ำกว่านี้ที่ระดับร้อยละ 10.0 โดยเฉลี่ยของวงเงินงบประมาณรวม
4.7
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
21.9
 
 
             4. สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ

 
ร้อยละ
อันดับ 1 การทุจริตคอร์รัปชัน
57.8
อันดับ 2 การใช้งบประมาณในโครงการประชานิยม
20.3
อันดับ 3 ความไม่มีประสิทธิภาพในการใช้เงินงบประมาณ
12.5
อันดับ 4 การขาดการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
4.7
อันดับ 5 การขาดการติดตามการใช้งบประมาณอย่างจริงจัง
0.0
อันดับ 6 อื่นๆ คือ ความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะชน
1.6
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
4.7
 
 
             5. ความเห็นที่มีต่อระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP กับความจำเป็นในการใช้เงินงบประมาณ อะไร
                 มีความสำคัญมากกว่ากัน ณ สถานการณ์และบริบทปัจจัยต่างๆ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
ควรให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
มากกว่าการลดหนี้สาธารณะ
51.6
ควรให้ความสำคัญกับการลดหนี้สาธารณะมากกว่าการใช้งบประมาณเพื่อ
วัตถุประสงค์ต่างๆ
35.9
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ
12.5
 
 
             6. ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำ พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556

 
อันดับ 1 รัฐบาลควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของการใช้เงิน มีการจัดลำดับความสำคัญของ
            โครงการ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
อันดับ 2 รัฐบาลควรใช้งบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการ
            แข่งขันเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาการ
            ศึกษา มีการกระจายงบประมาณลงไปยังท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อลดความ
            เหลื่อมล้ำรวมถึงช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุปสงค์ภายในประเทศด้วย
อันดับ 3 รัฐบาลควรเร่งทำงบประมาณให้มีความสมดุล บริหารจัดการสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี
            รวมถึงไม่ควรก่อหนี้มาใช้ในโครงการประชานิยม แต่ควรก่อหนี้มาใช้ในโครงการ
            ลงทุน
อันดับ 4 ภาครัฐควรมีการติดตามการใช้งบประมาณอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการใช้งบประมาณอย่าง
           โปร่งใส
อันดับ 5 ภาครัฐควรแยกงบด้านการลงทุนออกจากงบรายจ่ายประจำปีเพิ่มความมีประสิทธิภาพ
           ในการบริหารจัดการ, ในกรณีที่จะมีโครงการประชานิยม การดำเนินโครงการควรอยู่ใน
           รูปแบบสวัสดิการมากกว่าการลดภาษี เป็นต้น
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการ
               พัฒนาประเทศไทย (TDRI)   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ธนาคารเพื่อการ
               ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
               ธนาคารทหารไทย   ธนาคารธนชาต   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน
               บริษัทหลักทรัพย์ภัทร  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลา
               นครินทร์  สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
               คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัย
               นเรศวร   สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยรามคำแหง   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  25 กรกฎาคม - 10 สิงหาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 สิงหาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
29
45.3
             หน่วยงานภาคเอกชน
19
29.7
             สถาบันการศึกษา
16
25.0
รวม
64
100.0
เพศ:    
             ชาย
35
54.7
             หญิง
29
45.3
รวม
64
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
21
32.8
             36 – 45 ปี
18
28.1
             46 ปีขึ้นไป
25
39.1
รวม
64
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.7
             ปริญญาโท
43
67.2
             ปริญญาเอก
18
28.1
รวม
64
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
10
15.6
             6 - 10 ปี
15
23.4
             11 - 15 ปี
8
12.5
             16 - 20 ปี
8
12.5
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
23
35.9
รวม
64
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776